TKP HEADLINE

พิธีล่องเจ้า




 พิธีล่องเจ้า (ล่องจุ๊) คนมอญเรียกว่า "เล๊ะจุ๊สะเป็นปล่าย" ถือเป็นส่วนหนึ่งของประเพณีสงกรานต์ของคนไทยเชื้อสายรามัญ (มอญ) ตำบลบางกระเจ้า เป็นพิธีที่หมู่บ้านคนมอญถือปฏิบัติสืบต่อกันมาตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบันนี้ พิธีล่องเจ้าเป็นประเพณีที่จัดกันทุกปีหลังเทศาลสงกรานต์ หรือขึ้น 1 ค่ำ เดือน 6 เป็นการแสดงความเคารพต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ทุกหมู่บ้านจะมีศาลประจำหมู่บ้านของตนเอง เป็นที่พึงทางใจของคนมอญ นอกจากนั้นคนมอญยังเชื่อว่าเจ้าพ่อจะนำสิ่งที่ดีที่เป็นมงคลมาสู่ชีวิต ทำให้ชาวบ้านได้อยู่ดีมีความสุขทุกครอบครัวและทุกหมู่บ้าน

เครื่องเซ่นในพิธีล่องเจ้า ประกอบด้วย ขนมต้มแดง ต้มขาว อย่างละถ้วย มะพร้าวอ่อน 1 ผล กล้วย 1 หวี ข้าวสวย 1 ถ้วย ไข่ต้ม 1 ฟอง วางบนข้าว นำสิ่งเหล่านี้จัดใส่ถาด นำไม้ไผ่อันเล็กๆ ยาวๆ เรียกไม้เกี้ยว มาหักเป็นรอยให้เป็นข้อ แต่ละข้อห่างกันประมาณครึ่งนิ้ว รอยข้อหมายถึงจำนวนคนในบ้าน บ้านไหนคนมากรอยข้อมาก ข้อหนึ่งหมายถึงคนหนึ่ง นำไม้เกี้ยวนี้ไปปักบนหวีกล้วยในถาด ชาวบ้านจะนำถาดเหล่านี้ไปวางบนโต๊ะที่จัดไว้ในบริเวณพิธี และจะต้องจัดหาผ้า ผ้าขาวม้า ผ้านุ่งสวยๆ เตรียมไว้หลายๆ ชุด เพราะในพิธีล่องเจ้านี้ นอกจากเจ้าพ่อแล้ว จะมีเจ้าพ่อเจ้าแม่องค์อื่นๆ ซึ่งได้รับเชิญมารำร่วมด้วย อ่านเพิ่มเติม

Share this:

Post a Comment

ข้อคิดเห็นจากเครือข่าย TKP

 
Copyright © 2018 ศูนย์ข้อมูลความรู้ประชาชนจังหวัดสมุทรสาคร. Designed by OddThemes > Developed by mediathailand