หมู่บ้านเบญจรงค์ ดอนไก่ดี หนึ่งในหมู่บ้านเบญจรงค์ของไทย ฝีมือดังไกลทั่วโลก
หมู่บ้านเบญจรงค์ดอนไก่ดี ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลดอนไก่ดี หมู่บ้านแห่งนี้เป็นชุมชนของชาวบ้านที่ได้รับการถ่ายทอดภูมิปัญญาจากวิทยากรชาวไทย-จีนโบราณ ซึ่งทางโรงงานเสถียรภาพ หรือที่เรียกกันว่า โรงชามไก่ผู้ผลิตเครื่องเบญจรงค์เก่าแก่ของ จ.สมุทรสาคร เชิญมาสอนขั้นตอนการผลิต รวมไปถึงการเขียนลวดลายบนเครื่องถ้วยชาม ต่อมาในปี พ.ศ. 2532 ทางโรงงานประสบภาวะขาดทุน จนเป็นเหตุให้ต้องปิดกิจการ กลุ่มลูกจ้างเดิมจึงตกอยู่ในภาวะว่างงาน ด้วยเหตุนี้ เพื่อความอยู่รอด ช่างเขียนลายเบญจรงค์จึงต้องรวมกลุ่มกัน โดยนำองค์ความรู้และทักษะการทำเครื่องเบญจรงค์มาประยุกต์ใช้ จากนั้นก็มีการพัฒนาให้มากขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งนี้ ภายใต้กลุ่มหมู่บ้านเบญจรงค์ดอนไก่ดี จะมีรูปแบบลวดลายเฉพาะตัวที่เป็นเอกลักษณ์ โดยมีการสี 5 สี และยังมีการใช้สีที่สวยงามยิ่งขึ้นอย่างเช่น ลายน้ำทอง มีสีทองช่วยเสริมความสวยงามและความโดดเด่นของลวดลาย ซึ่งลวดลายเหล่านี้นับว่ามีความสวยงามเป็นอย่างมาก ทำให้ในปี พ.ศ.2546 เครื่องเบญจรงค์ที่นี่ได้รับการคัดสรรเป็นสุดยอดหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (ได้รับรางวัลสินค้า OTOP ระดับ 5 ดาว) ที่มีมาตรฐานเป็นสากล ต่อมาในปี พ.ศ.2550 ทางหมู่บ้านก็ได้รับรางวัลชุมชนดีเด่นทางด้านการท่องเที่ยว และในปีต่อ ๆ มา ก็ได้รับรางวัลอื่นๆอีกมากมาย ทั้งหมดนี้ เป็นสิ่งที่รับประกันถึงคุณภาพของเครื่องเบญจรงค์และหมู่บ้านแห่งนี้เป็นอย่างดี หากผู้ใดสนใจและชื่นชอบในงานศิลปะ รวมไปถึงอยากสัมผัสความเป็นไทยโบราณ การมายังหมู่บ้านแห่งนี้ นอกจากจะได้ชมเครื่องชามที่สวยงาม และขั้นตอนการทำอย่างละเอียดแล้ว ยังสามารถซื้อกลับไปตั้งไว้ที่บ้านเป็นที่ระลึกได้อีกด้วย โดยราคาจะมีตั้งแต่หลักร้อย ไปถึงหลักแสนบาทเลยทีเดียว อีกทั้ง หากนักท่องเที่ยวคนไหนสนใจอยากสัมผัสวัฒนธรรมไทยแบบใกล้ชิด ที่นี่ก็มีโฮมสเตย์บ้านดอนไก่ดีไว้ให้บริการการทำนาเกลือ
บ้านชายทะเลรางจันทร์
กะปิเคยตาดำ
วัดนางสาว
สถานที่ท่องเที่ยว วัดนางสาว
ความเป็นมาของวัดมีเรื่องเล่ากันว่า เมืองสาครบุรี คือ เมืองชายทะเลตอนใต้ของกรุงศรีอยุธยา เมื่อเกิดสงครามในพม่าชาวไทยกลุ่มหนึ่งได้อพยพหนีมาตามริมแม่น้ำท่าจีน คนชราและผู้หญิงได้พากันไปหลบซ่อนในโบสถ์เก่า ต่อมาคนไทยได้ช่วยกันต่อสู้กับทหารพม่าจนได้รับชัยชนะ และผู้ที่อพยพมาได้ตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณนั้น ในกลุ่มนี้มีสองพี่น้องที่เคยอาศัยโบสถ์หลบหนีภัย ทั้งสองมีความคิดที่จะบูรณะโบสถ์ใหม่ แต่พี่สาวเห็นว่าโบสถ์ทรุดโทรมมากจึงไปสร้างวัดใหม่แทน น้องสาวต้องการทำตามสัจจาธิษฐานของตนว่าถ้ารอดตายจะบูรณะซ่อมแซมโบสถ์ จึงดำเนินการบูรณะจนเสร็จและตั้งชื่อว่า วัดพรหมจารีย์ ต่อมาชาวบ้านเรียกว่า วัดน้องสาว จนปัจจุบันเพี้ยนมาเป็น วัดนางสาว
วัดนางสาว ตั้งอยู่ ต.ท่าไม้ อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร มีเนื้อที่ทั้งหมด 87 ไร่เศษ ปี 2513 ได้รับยกย่องจากกรมศาสนา ให้เป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง และเมื่อปี 2537 ได้รับรางวัลอีกครั้งพร้อมทั้งรับประกาศณียบัตร วัดพัฒนาดีเด่น วัดนางสาวมีการบูรณะก่อสร้างเจริญรุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว และปัจจุบันทางการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ยังจัดให้วัดนางสาวเป็นสถานที่ท่องเที่ยวในกลุ่ม UNSEEN THAILAND และลงเผยแพร่ในดวงตราไปรษณียากรด้วย วัดนางสาวนั้นเดิมเป็นวัดร้างเก่าแก่มาก จนไม่อาจทราบประวัติความเป็นมาที่แท้แน่นอนได้ว่าถูกสร้างขึ้นในสมัยใด แต่สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาซึ่งน่าจะมีอายุมากกว่า 400 ปี และเหตุที่ตั้งชื่อวัดนางสาวนั้นก็มีที่มานะครับ เราไปย้อนอดีตที่มาของวัดกันหน่อยดีกว่าว่าเป็นมากันยังไง
แหล่งที่มาข้อมูล : สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสมุทรสาคร.
นำเสนอ เรียบเรียง : อารีย์ เยกิจ
ประเพณีรำผีมอญ
พิธีรำผีมอญ เรียกว่า เหรก กะนา แปลว่ารำแล้วนำสิ่งชั่วร้ายหรือโรคภัยไข้เจ็บไปให้สิ้นหรือเป็นพิธีการเลี้ยงผีแบบ กินทั้งยืน (เจียะละคะตาว) หมายถึง การถวายอาหารพร้อมด้วยการร่ายรำ
แหล่งข้อมูล : หนังสืออัตลักษณ์ของชาวรามัญตามแนวพระพุทธศาสนาในจังหวัดสมุทรสาคร โดยพระครูสาครพัฒนกิจ ดร. (เจ้าอาวาสวัดน่วมกานนท์)
ภาพจาก : https://www.sac.or.th นำเสนอ เรียบเรียง : นางสาวสรภัค อ่วมเกตุ
วัดน่วมกานนท์
วัดบางตะคอย
การทำน้ำพริกปลาสลิด
การแปรรูปฟ้าทะลายโจร
ต้นพันธุ์ฟ้าทะลายโจรกำลังเจริญเติบโตเต็มที่นั้นประชาชนในพื้นที่ตำบลชัยมงคลเกิดผลกระทบการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) อย่างรวดเร็ว และได้มีประชาชนในพื้นที่และต่างพื้นที่ ที่ทราบข่าวว่าทางศูนย์เรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ประจำตำบลชัยมงคลมีต้นฟ้าทะลายโจรแจกฟรี ก็มีประชาชนทั้งชาวไทยและต่างด้าวมาขอต้นฟ้าทะลายโจรเป็นอย่างมาก
ศาลพันท้ายนรสิงห์
พันท้ายนรสิงห์ เป็นชาวบ้านนรสิงห์ แขวงเมืองวิเศษชัยชาญ (ปัจจุบันคือ ตำบลนรสิงห์ อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง) รับราชการเป็นนายท้ายเรือพระที่นั่งเอกชัย อยู่ในรัชสมัยสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (พระเจ้าเสือ) แห่งกรุงศรีอยุธยา ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้มีความซื่อสัตย์สุจริต จงรักภักดี และรักษาระเบียบวินัยยิ่งชีวิต สมควรเป็นแบบอย่างแก่อนุชนรุ่นหลังต่อไปเรื่องราวของพันท้ายนรสิงห์
สะพานแดง
จุดชมวิวปลาโลมา หรือสะพานแดง ตั้งอยู่ที่ หมู่ 8 ตำบลพันท้ายนรสิงห์ เป็นจุดชมวิวบรรยากาศริมชายฝั่งทะเล และชมพระอาทิตย์ตก ชมป่าชายเลนและไม้ไผ่ชะลอคลื่น พิเศษโดยเฉพาะช่วงเดือน พฤศจิกายน-มกราคม จะพัดลมหนาวเข้าสู่อ่าวไทย สายลม และน้ำเค็ม ได้พัดพาเอาฝูงปลาโลมาเข้ามาเป็นจำนวนมาก เป็นสิ่งที่น่าตื่นตาตื่นใจเป็นอย่างยิ่ง สำหรับผู้ที่ได้พบเห็น
รูปภาพ : นางสาววลิดา ดีสมบูรณ์
นำเสนอ เรียบเรียง : นางสาววลิดา ดีสมบูรณ์
งานนมัสการปิดทองหลวงพ่อปู่กรับ วัดโกรกกราก
แหล่งข้อมูล รูปภาพ : sakhononline
นำเสนอ เรียบเรียง : นายมานพ คล้ายเพชร
หอยพิมตากแห้ง
หอยพิม กินอาหารจำพวกแพลงก์ตอนที่ล่องลอยอยู่ใกล้ผิวหน้าดิน โดยการกรอง หอยพิมขนาดใหญ่อ้วนสมบูรณ์ จะพบมากในช่วงเดือนธันวาคม -มีนาคม การจับหอยพิมใช้วิธีดำน้ำลงไปก็บด้วยมือ นับว่าหอยพิมเป็นสัตว์สัญลักษณ์ของจังหวัดสมุทรสาคร
แหล่งข้อมูลและรูปภาพ : http://www.mahachaicabletv.com/
นำเสนอ เรียบเรียง : นายมานพ คล้ายเพชร
ตลาดสดมหาชัย
แห่เจ้าพ่อหลักเมืองสมุทรสาคร
ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสมุทรสาคร มีชื่อเดิมที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามว่า "ศาลเทพเจ้าจอมเมือง ตั้งอยู่บริเวณต้นศรีมหาโพธิ์ ด้านหลังที่ว่าการอำเภอเมืองหลังเก่า ภายในบริเวณป้อมวิเชียรโชฎก ในปัจจุบันศาลเจ้าหลังดังกล่าวไม่ปรากฏร่องรอยเหลืออยู่แล้วจึงได้มีการสร้างศาลหลังปัจจุบันขึ้น แล้วเสร็จเมื่อปี พุทธศักราช ๒๕๓๐ เป็นอาคารเก๋งจีน ที่มีความสวยงามกว่าหลังเดิม พร้อมตกแต่งอาคารทั้งภายในและภายนอกอาคารด้วยศิลปะแบบจีน อยู่บริเวณริมเขื่อน ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสมุทรสาคร
แหล่งข้อมูลและรูปภาพ : https://thainews.prd.go.th (กรมประชาสัมพันธ์)
นำเสนอ เรียบเรียง : พรรณภร จันทิพย์วงษ์
วัดหลักสี่ราษฎร์สโมสร
วัดหลักสี่ราษฎร์สโมสร ตั้งอยู่ริมคลองดำเนินสะดวก อ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร มีหลวงพ่อโตวัดหลักสี่เป็นพระพุทธรูปโบราณสมัยอู่ทองเนื้อหินทรายแดงฉาบปูน ปางมารวิชัย มีพระพักตร์เอิบอิ่มยิ้มละไมหน้าตักกว้าง 81 นิ้ว สูง 99 นิ้ว (เป็นที่อัศจรรย์ถึงสัดส่วนของหลวงพ่อโตที่ช่างสมัยโบราณได้กำหนดไว้ล้วนเป็นเลขมงคลทั้งสิ้น
ข้อมูล รูปภาพ : วัดหลักสี่ราษฎร์สโมสร
นำเสนอ เรียบเรียงข้อมูล
ตักบาตรดอกไม้ชาวไทยเชื้อสายรามัญ-มอญ
ประเพณีตักบาตรดอกไม้เป็นพิธีกรรมทางพุทธศาสนาอย่างหนึ่งของชาวไทยเชื้อสายรามัญ (มอญ) เป็นประเพณีที่สืบทอดมาตั้งแต่โบราณ เป็นการปฏิบัติและแสดงความคารวะนอบน้อม อีกทั้งขอขมาลาโทษ หากมีเหตุอันใดพลาดพลั้งไป ซึ่งเป็นการกระทำล่วงเกินต่อพระพุทธศาสนา และพระภิกษุสงฆ์ ขอให้อานิสงส์แห่งการถวายดอกไม้จึงมีขึ้น เมื่อพระภิกษุได้รับบิณฑบาตแล้ว และได้นำไปบูชาพระพุทธและปูชนียสถานในวัดต่อไป อ่านเพิ่มเติม
การปลูกมะพร้าวน้ำหอม
ต้น ลำต้นตั้งตรง แข็งแรง อวบ ปล้องถี่ อ่านเพิ่มเติม
สงกรานต์ชาวไทยเชื้อสายรามัญ
งานประเพณีสงกรานต์ชาวไทยเชื้อสายรามัญตำบลเจ็ดริ้วขึ้นที่วัดเจ็ดริ้ว เทศกาลงานสงกรานต์มอญที่วัดเจ็ดริ้ว อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร จัดงานระหว่างวันที่ 13-16 เมษายน ที่สำคัญคือมีการแห่หลวงพ่อดำ ซึ่งเป็นพระประธานของวัดเจ็ดริ้ว พร้อมทั้งอัญเชิญรูปเหมือนหลวงปู่จ้อน อดีตเจ้าอาวาสร่วมขบวนแห่ เพื่อให้ชาวเจ็ดริ้วได้สรงน้ำและทำบุญ โดยริเริ่มครั้งแรกเมื่อ 5 ปีก่อน อ่านเพิ่มเติม
ศูนย์เรียนรู้ธรรมะ บ้านคลองสะพานดำ
ชื่อเรื่อง ศูนย์เรียนรู้ธรรมะ บ้านคลองสะพานดำ ชุมชน บ้านคลองสะพานดำ หมู่ที่ 11 ตำบลคลองมะเดื่อ อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร สถานที่ปฏิบัติธรรมแห่งนี้พึ่งสร้างได้ไม่เกิน 10 ปี โดยมีกำนันวงศ์มงคล มั่งมี เป็นผู้ก่อตั้งสถานที่แห่งนี้ ซึ่งมี ความสวยงามและโดดเด่นด้วยมณฑลพิธีพญานาคที่รายล้อมทั้งหมด 9 องค์ โดยซุ้มที่แหลมขึ้นเปรียบเหมือนหมวกของพระมหากษัตริย์ในอดีต มีพระพุทธรูปนั่งประทับอยู่รอบทิศดูมีความลึกลับน่าศรัทธามาก นอกจากนั้นก็ยังมีศาลาอยู่ด้านข้างมณฑลจะมีพระประธาน “หลวงพ่อมั่ง” มีประดิษฐานอยู่ให้ชาวบ้านหรือผู้มาเยี่ยมชมได้สักการะขอพร และทำบุญกับพระประจำวันเกิด มีสถาปัตยกรรม,ศิลปกรรมที่มีความสวยงาม สถานปฏิบัติธรรมศีล 5 แห่งนี้มีกิจกรรมที่ชาวบ้านมาร่วมกันสวดมนต์และเดินเวียนเทียนทุกวันสำคัญของพระพุทธศาสนา นอกจากนั้นก็ยังมีกิจกรรมต่างๆไม่ว่ากิจกรรมทางพระพุทธศาสนาเช่นกิจกรรมร่วมสวดมนต์นั่งวิปัสสกรรมฐาน,กิจกรรมเวียน,กิจกรรมทำบุญตักบาตรข้าวสาร อาหารแห้ง ร่วมทั้งกิจกรรมสืบสานประเพณีต่างๆเช่น กิจกรรมวันสงกรานต์ ทำบุญเลี้ยงพระถวายภัตราหารพระสงฆ์ การสรงน้ำน้ำพระตลอดจนรดน้ำขอพรผู้สูงอายุ,กิจกรรมวันเด็กแห่งชาติแจกของขวัญเด็กๆศาลาอยู่ด้านข้างมณฑลจะมีพระประธาน “หลวงพ่อมั่ง”มีประดิษฐานอยู่ให้ชาวบ้านหรือผู้มาเยี่ยมชมได้สักการะขอพร และทำบุญกับพระประจำวันเกิด มีสถาปัตยกรรม,ศิลปกรรมที่มีความสวยงามน่าศึกษาและเยี่ยมชม บรรยากาศมีความสอาด-สงบส่วน การเดินทางมีความสะดวกรวดเร็ว ปัจจุบันยังก่อสร้างยังไม่เสร็จเรียบร้อย หากเมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้วคงมีความสวยงาม และยกสถานะเป็น “วัดวงศ์มงคลวราราม” ปัจจุบันมีพระครูพิพิทธรรมวาที รักษาการเจ้าอาท หากมีเวลาขอเชิญมาเยี่ยมชมได้
บุราณเบญจรงค์แอนด์ เซรามิค
“บุราณเบญจรงค์” ก่อตั้งขึ้นมาเมื่อ 22 มีนาคม พ.ศ. 2537 ในบ้านเช่าหลังเล็กๆ ด้วยเงินทุนเพียงหนึ่งหมื่นบาท โดยผลิตกันเองภายในครอบครัว มีคุณวิฑูรย์และคุณสมจิตร ซึ่งเป็นพี่สาวเป็นผู้ริเริ่มเครื่องเบญจรงค์ ยุคแรกๆที่เราผลิต เป็นการผลิตตามความชอบของตัวเอง โดยเลียนแบบของเก่า
งานนมัสการปิดทองหลวงพ่อป่าเลไลย์
วัดราษฎร์บำรุง หรือ วัดหงอนไก่ เป็นวัดราษฎร์สังกัดมหานิกาย ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 บ้านคลองอ่อนใจ ตำบลคลองมะเดื่อ อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร ตั้งขึ้นเป็นสำนักสงฆ์เมื่อ พ.ศ. 2438 มีท่านสมภารเทียนเป็นผู้ริเริ่มในการก่อสร้าง นางพวง รอดสมหวัง เป็นผู้มอบที่ดินให้วัดจำนวน 16 ไร่ 3 งาน 85 ตารางวา หมื่นยงค์ มักสันต์ และกำนันแก้ว จันทร์เต็มดวง เป็นผู้อุปถัมภ์ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อปี พ.ศ. 2444 ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงสภาพภายในพื้นที่วัดเพื่อปรับให้เกิดความเหมาะสม ความสวยงามในด้านอาคารและสถานที่ แหล่งข้อมุล : https://db.sac.or.th/ รูปภาพ : https://db.sac.or.th/ นำเสนอข้อมูล : มนตรี ล่วนศิริ อ่านเพิ่มเติม
บ้านแพ้วเมืองริมคลองดำเนินสะดวก
ริมคลองดำเนินสะดวกมีชุมชนอยู่ริมแม่น้ำหลายแห่ง และหนึ่งในนั้น คือ ตลาดร้อยปีอำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ตลาดร้อยปีบ้านแพ้ว เป็นตลาดเก่าตั้งอยู่ริมคลองดำเนินสะดวก ตัวตลาดส่วนใหญ่เป็นลักษณะห้องแถวไม้ตั้งอยู่ริมคลองเมื่อก่อนตลาดบ้านแพ้วเป็นศูนย์กลางการเดินทางน้ำที่สำคัญมาก ๆ ใครจะไปไหนมาไหนก็ต้องมาต่อเรือที่ตลาดบ้านแพ้ว มีทั้งเรือหางยาวที่วิ่งประจำทาง และเรือสองตอนรับจ้างเหมือนกับรถแท็กซี่ สถานที่ราชการ อย่างที่ว่าการอำเภอ สถานีตำรวจจะตั้งริมคลองดำเนินสะดวกติดกับตลาดร้อยปีบ้านแพ้ว
แล่งข้อมูลและรูปภาพ https://travel.trueid.net/
นำเสนอ เรียบเรียง กศน.ตำบลเกษตรพัฒนา
อ่านต่อเพิ่มเติม
การสานตะกร้า
ถิ่นกำเนิดที่แน่นอนของมะพร้าวนั้นยังไม่มีข้อมูลสรุปว่าเป็นที่ใด แต่เชื่อกันว่ามะพร้าวน่าจะเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในแถบประเทศไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย และต่อมาได้มีชาวสเปนนำไปปลูกในหมู่เกาะเวสท์อินดีส และทะเลแครีเบียนตอนใต้ นอกจากนี้ชาวยุโรปยังนำไปปลูกในประเทศบราซิล และชาวโพสิเนเซียนนำไปปลูกยังเกาะต่างๆ ในมหาสมุทรแปซิฟิก จนมีการกระจายพันธุ์ไปทั่วโลก เช่น ในปัจจุบันนี้
การปลูกกล้วยไม้
ตำบลเกษตรพัฒนาประชาชนส่วนใหญ่นิยมปลูกกล้วยไม้เป็นอาชีพ ทั้งกล้วยไม้สกุลช้าง สกุลแวนด้า สกุลหวายและกลุ่มคัทลียา แต่มือใหม่หัดปลูกกล้วยไม้มักเจอปัญหา โรคใบจุดดำลึกขอบมีสีเหลืองและเน่าเสียหาย จนต้องตัดต้นทิ้งในที่สุด ความจริง การเลี้ยงกล้วยไม้ให้งาม ไม่ใช่เรื่องยาก ใครๆ ก็สามารถทำได้ หากปลูกดูแลกล้วยไม้ตามคำแนะนำ
แหล่งขอ่มูล : https://www.orchidtropical.com/
รูปภาพ : กศน.ตำบลเกษตรพัฒนา
นำเสนอ เรียบเรียง : กศน.ตำบลเกษตรพัฒนา
ตักบาตรดอกไม้ชาวไทยเชื้อสายรามัญ-มอญ
บทความตักบาตรดอกไม้ชาวไทยเชื้อสายรามัญ-มอญ ชุมชน ตำบลเจ็ดริ้ว อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ประเพณีตักบาตรดอกไม้เป็นพิธีกรรมทางพุทธศาสนาอย่างหนึ่งของชาวไทยเชื้อสายรามัญ (มอญ) เป็นประเพณีที่สืบทอดมาตั้งแต่โบราณ เป็นการปฏิบัติและแสดงความคารวะนอบน้อม อีกทั้งขอขมาลาโทษ หากมีเหตุอันใดพลาดพลั้งไป ซึ่งเป็นการกระทำล่วงเกินต่อพระพุทธศาสนา และพระภิกษุสงฆ์ ขอให้อานิสงส์แห่งการถวายดอกไม้จึงมีขึ้น เมื่อพระภิกษุได้รับบิณฑบาตแล้ว และได้นำไปบูชาพระพุทธและปูชนียสถานในวัดต่อไป พิธีกรรมของการตักบาตรดอกไม้ จะจัดในวันพระขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 อันเป็นวันออกพรรษา หลังจากมีการทำบุญใส่บาตรในตอนเช้าแล้ว ชาวบ้านจะรีบจัดอาหารไปถวายพระที่ในท้องที่นั้นๆ และในเวลา 13.00 น. พระสงฆ์จะเดินลงจากศาลาการเปรียญสู่พระอุโบสถ โดยชาวบ้านจะนั่งเรียงรายสองข้างทาง จากศาลาการเปรียญถึงหน้าประตูพระอุโบสถ ทุกคนจะมีดอกไม้ ธูป เทียน วางอยู่ในพานหรือถาดจำนวนมาก และยังมีผ้า ขันใส่น้ำ เมื่อพระท่านเดินผ่านมาต่างก็ถวายดอกไม้ ธูป เทียน และผ้าที่เตรียมไว้ปูรองให้พระเดินและล้างเท้าพระสงฆ์ทั้งหมดด้วยอาการที่เคารพนอบน้อม ขบวนพระสงฆ์จากศาลาการเปรียญถึงพระอุโบสถ จึงเป็นภาพที่งดงาม และน่าศรัทธาเลื่อมใสมาก พระสงฆ์ทั้งหมดจะไปร่วมทำพิธีปวารณาที่พระอุโบสถ ชาวบ้านจะมารวมกันที่หน้าพระอุโบสถ พร้อมกับทำพิธีขอสมาพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ การถวายของแด่พระสงฆ์นี้คนมอญต่างท้องที่อาจมีผิดแผกไปบ้าง แต่เดิมจะถวายธูป และเรียกเป็นภาษามอญว่า "ชวนธูป” แต่ในปัจจุบันถวายทั้งธูป เทียน และดอกไม้ แต่บางแห่งก็ถวายดอกไม้อย่างเดียว เมื่อมีงานประเพณีดังกล่าว ชาวบ้านจะแต่งกายตามธรรมเนียมรามัญ (มอญ) ซึ่งมีความเป็นระเบียบสวยงามมีเอกลักษณ์อย่างยิ่ง ซึ่งนอกจากวัฒนธรรม ประเพณีที่กล่าวแล้ว ยังมีวัฒนธรรมการละเล่นของชาวรามัญอีกมากมาย โดยงานจะจัดขึ้น ณ วัดบางกระเจ้า หมู่ที่ 6 และ วัดวิสุทธาราม หมู่ที่ 4 ผู้ให้ข้อมูล / เครดิตภาพ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสมุทรสาคร ที่มา / ภาพถ่าย สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสมุทรสาคร ผู้เรียบเรียง นางสาววีรญาพร ทองสุข
วัดศรีเมือง
วัดศรีเมือง ตั้งอยู่เลขที่ 1/2 หมู่ที่ 3 ถนนเศรษฐกิจ ตำบลท่าทราย อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัด เนื้อที่จำนวน 38 ไร่ วัดนี้ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2511 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาแล้ว เมื่อปี พ.ศ. 2516 อาณาเขตและอุปจารวัด วัดศรีเมือง ทางด้านทิศเหนือติดกับที่ดินของเอกชน ด้านทิศใต้ติดกับแม่น้ำท่าจีน ทางด้านทิศตะวันออกติดคลองเจ็กเพ็ชร มีทางรถยนต์วิ่งคอนกรีตเสริมเหล็กเชื่อมถนนเศรษฐกิจ-ธนบุรีปากท่อ และด้านทิศตะวันตกติดกับแพรกสาธารณประโยชน์ ตลอดเนื้อที่ดินของวัดศรีเมือง วัดศรีเมืองเดิมนั้นเป็นวัดร้าง มีเพียงลูกนิมิต 8 ลูกเท่านั้น อ่านเพิ่มเติม
คนมอญและคนรามัญ
คนมอญมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาและถือคติความเชื่อเรื่องผี เห็นได้จากเมื่อคนมอญย้ายมาอยู่ที่บ้านเกาะ ก็มีการสร้างวัดเกาะขึ้น เพื่อเป็นศูนย์กลางของคนมอญสำหรับรวมตัวประกอบประเพณีทางศาสนา อาทิ งานบวช เทศกาลสงกรานต์ หรือพิธีศพ ฯลฯ ในปัจจุบันความเชื่อประเพณีนั ้นยังคงสามารถด ารงอยู่ แต่ประเพณีบางอย่างก็ไม่ได้มีการปฏิบัติอีกต่อไปแล้ว เช่น การตักบาตรน้ำผึ้งในชีวิตประจําวันคนมอญมีความเกี่ยวข้องกับวัดดังที่กล่าวไว้ข้างต้นแล้ว อ่านเพิ่มเติม
ชาวไทยทรงดำหนองสองห้อง
บทความชาวไทยทรงดำ ชุมชนตำบลหนองสองห้อง อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร
ชาวไทยทรงดำ หรือไทยดำ เป็นกลุ่มชนชาติไทยที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน แต่เดิมมีถิ่นฐานอยู่ที่แคว้นสิบสองจุไท แถบเมืองแถงในประเทศเวียดนาม ได้อพยพถิ่นฐานเข้ามาประเทศไทย อาศัยอยู่หลายจังหวัด ในจังหวัดสมุทรสาครส่วนใหญ่อยู่ที่ชุมชนหนองสองห้อง ซึ่งได้ร่วมกันอนุรักษ์ สืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมที่มีความโดดเด่นของตนเอง ทั้งในด้านของภาษา การแต่งกาย อาหารการกิน ศิลปะการแสดง การละเล่นพื้นบ้าน และขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ เหมาะที่จะเป็นแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดสมุทรสาคร
สำหรับชาวไทยทรงดำในจังหวัดสมุทรสาครนั้นพบว่า บรรพบุรุษของไทยทรงดำที่จังหวัดสมุทรสาครนั้นเดินทางมาจากจังหวัดเพชรบุรีเพื่อกลับดินแดนที่ตนเคยอาศัยอยู่ก่อนซึ่งอยู่ทางเหนือแต่ในระหว่างเดินทางนั้นได้ผ่านดินแดนที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การทำมาหากินจึงได้ปักหลักตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่ซึ่งปัจจุบันคือตำบลหนองสองห้อง อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร และตั้งต้นสกุล 9 เพชรได้แก่ 1.บุตรเพชร 2. มูลดาเพชร 3.ซัดเพชร 4.รอเพชร 5.เพชรรอ 6.โลหินเพชร 7.มินเพชร 8.บุญเพชร 9.ทองเพชร จนทุกวันนี้ก็ยังคงติดต่อไปมาหาสู่กันเป็นประจำ ระหว่างญาติพี่น้องกลุ่มไทยทรงดำในจังหวัดเพชรบุรี(ตระกูล 10 ยอดพระ) ซึ่งมีบุคคลที่สำคัญเป็นที่นับถือของชาวบ้านได้แก่
1.คุณตาจันทร์ บุตรเพชร ซึ่งท่านเป็นต้นตระกุลบุตรเพชร ปัจจุบันอายุ 90 ปีเป็นหมอทำพิธีเสนเรือนและเป็นผู้ที่มีภูมิปัญญาทางด้านงานจักสาน
2.นายสี คัมภีร์ มีความสามารถเป็นหมอเสนเรือน อยู่หมู่ 5
3.นางบุญมี เสวี ท่านเป็นผู้มีความสามารถทางด้านการขับเพลง(ร้องเพลงพื้นบ้านของไทยทรงดำ)
4.นางปล้อง ยอดเพชร เป็นผู้มีภูมิปัญญาทางด้านการเย็บปักถักร้อย/ทอผ้า
5.นางชม ลาภพูล เป็นผู้มีภูมิปัญญาทางด้านการเย็บปักถักร้อยและด้านการศึกษาซึ่งท่านได้อนุรักษ์
ภาษาถิ่นของไทยทรงดำและยังอุทิศเวลาในการสอนพูดเขียนภาษาไทยทรงดำให้บุตรหลานชาวไทยทรงดำในชั่วโมงอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น ที่วัดหนองสองห้อง และยังได้จัดทำหนังสือแบบเรียนภาษาไทยทรงดำ
ปัจจุบันอาชีพหลักของไทยทรงดำคือการทำนาและถางป่าทำมาหากิน และยังมีมรดกทางวัฒนธรรมผ้าถุงลายแตงโมประกอบด้วยสี ขาว เขียว เหลือ แดง เรียกว่าลายขอกุด มีประชากรประมาณ 1300 คน
ผู้ให้ข้อมูล / เครดิตภาพ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสมุทรสาคร / มิวเซียมไทยแลนด์
ผู้เรียบเรียง นางสาววีรญาพร ทองสุข
อ่านเพิ่มเติม
สวนอินทผลัม ลุงโป้ย
“อินทผลัม” หลายคนจะนึกถึงอินทผลัมอบแห้ง หรือน้ำอินทผลัมที่มีรสชาติหวานจับใจ ซึ่งต้องนำเข้าจากต่างประเทศที่จริงแล้วก็มีอินทผลัมแบบพันธุ์กินผลสด ที่สามารถปลูกได้ในเมืองไทย และกำลังได้รับความนิยมจากเกษตรกรในหลายภูมิภาค เนื่องจากผลผลิตได้ราคาดี แม้จะออกผลผลิตเพียงปีละครั้งในช่วงเดือนกรกฎาคม – กันยายนก็ตามในอินทผลัม มีสารอาหารที่มีคุณประโยชน์ต่อร่างกาย
แหล่งข้อมูล : กศน.ตำบลท่าทราย
รูปภาพ : กศน.ตำบลท่าทราย
นำเสนอ เรียบเรียง : กศน.ตำบลท่าทราย
วัดบางกระเจ้า
วัดบางกระเจ้า ตั้งอยู่บริเวณริมคลองสุนัขหอน วัดบางกระเจ้านี้ ไม่มีหลักฐานชี้ชัดเกี่ยวกับการ สร้างวัด สันนิฐานว่าได้สร้างขึ้นในราวปี พ.ศ. 2337 ไม่ปรากฏว่าพระสงฆ์ที่เป็นหัวหน้าริเริ่มการสร้างวัดนี้ สำหรับผู้ที่ถวายที่ดินเพื่อสร้างวัดก็ไม่ปรากฏชื่อ วัดนี้เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งมีปูชนียวัตถุ คือ พระพุทธรูปนั่งเป็นประธานในพระอุโบสถ ไม่ปรากฏว่าสร้างเมื่อใด เป็นที่นับถือและศักดิ์สิทธิ์ และรูปปั้นอดีตเจ้าอาวาสองค์ก่อนประดิษฐานอยู่ในศาลา ชาวบ้านเคารพบูชากราบไว้เสมอมา อ่านเพิ่มเติม